ลูกมีปานแดงที่หัว อย่าชะล่าใจ ปานแดงในเด็กเล็กอาจเป็นสัญญาณเตือนอันตราย

ลูกมีปานแดงที่หัว ปานมีขนาดใหญ่ขึ้นจะอันตรายไหม ปานแบบไหนเป็นอันตรายสำหรับลูกน้อย พ่อแม่มีวิธีสังเกตปานแดงที่หัวของลูกอย่างไร มีคำแนะนำมาฝาก

ลูกมีปานแดงที่หัว สัญญาณอันตราย

ลูกมีปานแดงที่หัว ปานแดงที่หัวเกิดจากอะไร ปานแดง เกิดจากเนื้องอกที่ผิวหนัง ประกอบด้วย เซลล์ที่เต็มไปด้วยหลอดเลือมากมาย ทำให้ปานมีสีแดงหรือสีแดงเข้ม ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของเนื้องอกค่ะ ส่วนสาเหตุที่เกิดยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ซึ่งโรคปานแดงในเด็กนั้น อาจมีอันตรายมากขึ้นเมื่อทารกเป็น และจะหญิงอันตรายถ้าลูกเป็นผู้หญิง คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักตัวน้อย คุณแม่เคยแท้งมาก่อน และคุณแม่มีลูกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปีค่ะ

ลักษณะอาการของปานแดงในเด็ก

ปานแดงจะขยายอย่างรวดเร็วในช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะในช่วง 5 เดือน จากนั้นเข้าสู่ระยะที่เนื้องอกลดลง แล้วค่อยๆ จางหายไปที่สุด ส่วนมากจะพบที่บริเวณศีรษะ ใบหน้า และลำคอ แต่บางครั้งก็อาจพบบริเวณอื่นได้ เช่น ตับ ม้าม กล่องเสียง และระบบทางเดินอาหาร

ปานแดงที่มักพบในเด็ก

  1. ปานแดงชนิดราบ ลักษณะจะเป็นรอยแดงกระจายไปทั่ว รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน และมักพบบริเวณใต้ผมที่ต้นคอ หรือที่ใบหน้า สามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิดไม่มีอันตรายต่อร่างกาย
  2. ปานแดงชนิดนูน จะมีสีแดงสดถึงสีแดงคล้ำ ผิวนุ่ม ไม่เรียบ พบได้ทุกส่วนของร่างกาย เมื่อโตขึ้นปานจะค่อยๆ ยุบหายไปเองภายใน 2-5 ปี โดยไม่ต้องรักษา ยกเว้นถ้าปานแดงชนิดนี้เกิดบริเวณที่บาดเจ็บง่ายหรือทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะอื่น เช่น เปลือกตา
  3. ปานแดงหลอดเลือด เป็นปานสีแดงหรือแดงอมม่วงคงอยู่ไม่จางหายไป มีสีเข้ม หรืออาจนูนหนา และขรุขระตามอายุที่มากขึ้น อาจพบร่วมกับความผิดปกติของหลอดเลือดสมองได้
  4. ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ เป็นตุ่มนูนหรือปื้นสีแดงเข้มขนาดใหญ่ บริเวณใบหน้า

ลูกมีปานแดงที่หัว

ปานแบบไหนที่เป็นอันตราย

1. ปานแดงที่เป็นแบบนูนคล้ายสตรอว์เบอร์รี่

หากขึ้นบริเวณเปลือกตาจะอันตรายมาก เพราะจะทำให้ลุกน้อยลืมตาไม่ได้ จนสุดท้ายกลายเป็นโรคตาขี้เกียจตามมา ดังนั้น ถ้าลูกมีปานแบบนี้ ให้รับปรึกษาคุณหมอโดยด่วน ซึ่งวิธีการรักษาจะมี 2 วิธี ด้วยกันคือ เลเซอร์ หรือกินยาสเตียรอยด์

วิธีการสังเกตปานลักษณะแบบนี้ คือ จะมีลักษณะเป็นจุดแดงเล็กๆ คล้ายยุงกัด หรืออาจไม่มีรอยใดๆ เมื่อแรกเกิด แต่จะโตชัดขึ้นเรื่อยๆเป็นลักษณะคล้ายลูกสตรอว์เบอร์รี่ จนหยุดโตเมื่ออายุประมาณ 1-2 ขวบ แล้วจึงค่อยๆ เล็กลงเรื่อยๆ จนหายไปเองในที่สุด ร้อยละ 50 หายที่อายุ 5 ขวบ ร้อยละ 90 หายที่อายุ 9 ขวบ

2. ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ

มักพบตั้งแต่วัยแรกเกิด และจะอยู่ตลอดไปไม่จางลง มักขึ้นอยู่ที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายค่ะ แถมยังขยายขึ้นเรื่อย ๆ ตามตัวเด็กด้วย ทั้งยังมีสีที่เข้มขึ้น นูน ขึ้นและขรุขระเพิ่มขึ้นตามอายุอีก ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบเห็นปานบริเวณใบหน้า จะอันตรายมาก ควรรีบพาไปพบคุณหมอ เพราะหากขึ้นที่เปลือกตาอาจส่งผลทำให้เกิดต้อหิน ตาบอด หรือเกิดความผิดปกติของสมองได้

3. เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก

พบมากที่สุดในเด็ก โดยพบประมาณร้อยละ 5 ในทารกแรกเกิด และร้อยละ 5-10 ในเด็กอายุ 1 ปี ส่วนใหญ่จะพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย บางรายอาจพบมีจุดหรือปื้นสีแดงนำมาก่อน ลักษณะของปานที่พบบ่อย จะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวขรุขระ ซึ่งก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตมากขึ้นภายใน 6-9 เดือนแรกของชีวิต หลังจากนั้นก้อนจะค่อยๆ ยุบลงได้เองภายหลังอายุ 1 ปี

เมื่อปานยุบไป อาจหลงเหลือความผิดปกติของผิวหนังได้ และจะยิ่งอันตรายมากขึ้น หากปานไปขึ้นอยู่ที่บริเวณใบหน้า หรือเป็นรอยโรคที่อาจก่อปัญหา หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น รอบดวงตา ใบหู หรือปรากฏมากกว่า 5 อัน ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจติดตามและรับการรักษาที่เหมาะสม

ลูกมีปานแดง

เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ

เมื่อคุณแม่คุณพ่อเห็นแล้วว่า ปานแดงมีขนาดใหญ่ ขยายขนาดโตรวดเร็วมากเกินไป เกิดในตำแหน่งที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ได้แก่

  • เกิดบริเวณใบหน้า มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ซึ่งคุณหมออาจจะตรวจร่างกายลูกน้อยเพิ่มเติม เพราะอาจจะเกิดความผิดปกติอื่น เช่น ความผิดปกติของเส้นเลือดในสมอง
  • เกิดบริเวณหนังตา ทำให้ลูกไม่สามารถมองเห็นได้ชัด หรือทำให้เกิดการมองเห็นที่ผิดปกติ
  • เกิดบริเวณกรามล่าง อาจทำให้ลูกมีปัยหาในการหายใจได้
  • เกิดบริเวณหลัง และทวารหนัก ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะได้

ที่มา: kapook, mahidol

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัย และสบายสำหรับเจ้าตัวน้อย ท่าอุ้มทารกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!

บทความโดย

Khunsiri